เอ็นจินีโอได้รับความไว้วางใจจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1 ภาคเหนือ ให้เป็นผู้สร้างโรงเพาะเห็ดต้นแบบด้วยพลังงานสะอาดในโครงการ กฟภ. ถวายพ่อหลวงในวโรกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โครงการหลวงเป็นโครงการที่มีคุณประโยชน์ต่อชาวเกษตรกร นอกจากจะเป็นศูนย์ทดลอง และเรียนรู้เกี่ยวกับทางพืช และเกษตรกรรมแล้วยังเป็นสถานที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้กับชาวบ้านเพื่อให้สามารถประกอบกิจกรรมเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร โครงการหลวงส่วนใหญ่จึงมีที่ตั้งอยู่ห่างไกลจากความเจิรญ เพื่อช่วยเหลือและเป็นแหล่งเป็นที่พึ่งให้กับพี่น้องเกษตรกร ปัจจุบันโครงการหลวงได้มีการพัฒนาการประยุกต์ทดลองเพาะปลุกใหม่ๆ ที่มีราคาสูง โดยพืชส่วนใหญ่มีสายพันธุ์มาจากต่างประเทศ และนำมาทดลองปลูกเพื่อขายสายพันธุ์จนสามารถปลูกได้ในประเทศ นอกจากจะลดการนำเข้า แล้วยังช่วยให้เกษตรกรมีอาชีพที่สามารถทำกำไรได้เป็นอย่างดี
โครงการหนึ่งที่โครงการหลวงกำลังให้ความสนใจคือการเพาะเห็ด Portobello ซึ่งมีการเพาะและวิจัยอยู่ที่ โครงการหลวงขุนวาง อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานีถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยพืชเมืองหนาว เนื่องจากเห็ดดังกล่าวมีราคาแพง และต้องการปลูกที่อุณหภูมิประมาณ 14-16 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นที่พอเหมา ซึ่งต้องใช้ระบบที่รักษาอุณหภูมิได้
โรงเพาะเห็ดที่ใช้สำหรับเพาะเห็ด
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ได้เห็นถึงประโยชน์ของโครงการดังกล่าวเป็นระบบที่ดีและมีประโยชน์ต่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านตามปณิธานเกษตรเพื่อความยังยืน จึงสนใจที่จะพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีความคงทนถาวร เพื่อใช้เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดสำหรับประเทศไทย และสามารถใช้ร่วมกับพลังงานสะอาดโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความยั่งยืน จึงมีความเห็นที่จะปรับปรุงและสร้างระบบโรงเพาะเห็ด ดังนี้
|
1 ส่วนของโรงเรือน
ออกแบบโครงสร้างโรงเรือนถาวร 2 ชั้น สามารถช่วยลดรังสีการตกกระทบของแสดงแดดในเวลากลางวัน โดยโครงสร้างภายนอกมีขนาด 9x20x6 เมตร หลังคามุงด้วย metal sheet และมีโรงเรือนภายในสำหรับเพาะเห็ด ทำจากอิฐมวลเบาก่อและฉาบผนัง 2 ด้านขนาด 6x12 เมตรใช้สำหรับเป็นโรงเพาะเห็ด
2 ระบบระบายความร้อนภายในโรงเรือน
2.1 ระบบระบายความร้อนโดยใช้ Evaporative cooling โดยมีการ pre-cool น้ำเย็นก่อนเข้าในระบบ และ ระบบสเปรย์ละอองน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้กับระบบ
2.2 ระบายอากาศภายในโดยใช้ระบบลูกถ้วยระบายความร้อน ซึ่งลูกถ้วยจะหมุนและดูดอากาศเองเมื่ออุณหภูมิภายในโรงเรือนมีความแตกต่างจากอุณหภูมิจากสภาวะอากาศภายนอก (ไม่ใช้ไฟฟ้า)
2.3 ระบบหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนเพื่อระบายก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรือนออก โดยใช้พัดลมขนาดเล็ก
3 ระบบไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด
3.1 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคเหนือ) จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีความเห็นว่าควรใช้พลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์ ไม่มีการใช้แบตเตอรี่ ใช้ไฟฟ้าจากสายส่งเป็นแหล่งสำรองไฟให้แก่ระบบและจะทำให้ระบบไฟฟ้าพลังงานทดแทนไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาเนื่องจากการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ทำให้เกิดการยังยืนของการใช้พลังงาน
3.2 มีระบบน้ำสูบน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พัดลมหมุนเวียนอากาศ และหลอดไฟแสงสว่าง แอลอีดีสามารถใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์โดยตรง
3.3 ระบบสามารถสลับการใช้ไฟฟ้าอัตโนมัติในกรณีไฟฟ้าดับ
|
|
|
ทางเอ็นจินีโอเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากได้นำเอาระบบพลังงานสะอาดเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม จึงนำเอาบางส่วนบางตอนมาฝากแฟนของเอ็นจินีโอกัน
ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงเพาะเห็ดจากพลังงานสะอาด
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เป็นพลังงานหลักจากแผงโซล่าเซลล์ชนิด Thin film ขนาด 120 วัตต์จำนวน 25 แผงเนื่องจากพื้นที่ติดตั้ง มีแดดน้อยจึงเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีความไวต่อแสงแดดสูง โดยแผงโซล่าเซลล์จะถูกติดตั้งบนหลังคาโรงเรือนชั้นนอกของโรงเพาะ รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 3000 w. ต่อชั่วโมงหรือ 15 กิโลวัตต์ต่อวัน พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์จะส่งผ่านไปยังอินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อสายส่งโดยผ่านตัวตัดต่อระบบ (Auto Transfer Switch, ATS) และถูกเปลี่ยนแรงดันเป็นไฟฟ้ากระแสงสลับ (DC/AC) และจ่ายให้แก่โหลดที่อยู่ภายในโรงเรือนโดยตรง (ปั้มน้ำ, พัดลมหมุนเวียนอากาศ, และหลอดไฟ LED) ในกรณีที่กำลังผลิตไฟฟ้าเกินความต้องการของภาระโหลดไฟฟ้าส่วนเกินจะถูกป้อนเข้าสู่ระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า ในขณะเดียวกันหากความต้องการไฟฟ้าภายในโรงเรือนมากกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้า ไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายจะไหลเข้ามาเสริมไฟฟ้าในระบบ นอกจากนั้นระบบยังถูกออกแบบให้สามารถใช้ไฟฟ้าได้โดยตรงการพลังงานแสงอาทิตย์ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยระบบ ATS จะสลับไฟฟ้าให้ผ่านไปยังอุปกรณ์แปลงไฟฟ้า (DC/DC) เพื่อลดแรงดันของระบบไฟฟ้ากระแสตรงให้เหมาะสมกับแรงดันของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในโรงเรือน และระบบ ATS จะสลับไฟกลับเป็นตามเดิมเมื่อไฟฟ้าปรกติกลับมาทำงาน
เมื่อการออกแบบลงตัว ทางทีมงานเอ็นจินีโอ เริ่มขุดฐานรากเพื่อหล่อเสา
เมื่อหล่อขึ้นรูปเสาของโรงเรือนเรียบร้อย ต้องตรวจสอบขนาดเพื่อให้เกิดความแน่ใจ
ไม่กี่วันก็สามารถขึ้นโครงสร้างหลังคาได้แล้ว
เผลอแป๊บเดียวเป็นรูปเป็นร่างแล้ว.... ต่อไปเพื่อไม่ให้เสียเวลา ก็เตรียมติดตั้งระบบผลิตพลังงานหลักได้เลย....
กว่าโครงสร้างรองรับแผงโซล่าเซลล์จะสำเร็จก็เย็นแล้ว
หมดแรงแล้ว หนาวก็หนาว สูงก็สูง
แผงโซล่าเซลล์ทำมุงเอียง 20 องศา
อีกส่วนก็ทำการติดตั้งระบบพลังงานอยู่
ช่างสีเก็บความเรียบร้อยภายนอกของโรงเพาะเห็ด
ระบบควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆภายในโรงเรือน
อินเวอร์เตอร์ใช้แบบเชื่อมต่อสายส่งได้โดยเฉพาะขนาด 3000 วัตต์ เป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศ เยอรมันนี
ด้านหน้าโรงเพาะติดตั้ง รังผึ้งสำหรับช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน จะมีน้ำไหลจากด้านบนสู่ด้านล่าง
และมีพัดลมดูดอากาศเพื่อให้อากาศภายห้องเพาะมีความเย็น
มีพัดลมไอน้ำคอยทำงานเพื่อลดความชื้นภายในโรงเพาะ และระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายในเป็นชนิดหลอด LED สามารถทำงานได้หากกรณีไฟฟ้าดับ
มีพัดลม DC ขนาด 8 นิ้วจำนวน 2 ตัวทำงานหมุนเวียนอากาศภายในห้องเพื่อให้อุณหภูมิกระจายได้อย่างทั่วถึง
เมื่อทุกอย่างพร้อม จึงทำการทดสอบระบบ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ชั้นวางเพื่อทำการเพาะเห็ดได้ถูกสร้างขึ้นภายในโรงเรือน พร้อมแล้วที่จะทำการทดลองเพาะเห็ดด้วยเทคโนโลยีสะอาด
หลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 4 สัปดาห์ เราเริ่มเห็นเห็ดเริ่มผุดขึ้นมาแล้ว
มันเป็นความภาคภูมิใจของพวกเรา ทั้งทีมงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค น.1 จังหวัดเชียงใหม่ และพวกเราเอ็นจินีโอ
งานนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 เดือน ผ่านอุปสรรค์มากมาย ทั้งฝนที่ตกอย่างหนักทุกวัน เส้นทางถูกตัดขาดบางส่วน แต่เราก็ผ่านปัญหาไปได้ จนเราพิสูจน์ว่าการทำงานที่ใช้ความคิด พร้อมด้วยความตั้งใจพยายาม ไม่มีคำว่า " ไม่สำเร็จ"